POKA YOKE คืออะไร

           POKA YOKE หลายๆคนอาจจะรู้จัก บางคนก็อาจจะยังไม่รู้จัก แต่เครื่องมือตัวนี้เราสามารถพบเห็นได้ในชีวิตประจำวัน ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจก่อนว่า POKA YOKE คืออะไรและมีที่มาอย่างไร
            POKA YOKE มีแนวคิดพื้นฐานมาจากวิศวกรชาวญี่ปุ่นนามว่า Shigeo Shingo   และได้ถูกนำมาใช้กับระบบการผลิตของโตโยต้า ก่อนหน้าที่จะมาเป็นคำว่า POKA YOKE แต่เดิมแนวคิดนี้ถูกเรียกว่า BAKA YOKE แปลตรงตัวได้ว่า " หลีกเลี่ยงความโง่ " ซึ่งอาจจะเป็นคำที่ฟังแล้วไม่สุภาพนัก จึงมีการเปลี่ยนคำเป็น  POKA YOKE ซึ่งให้ความหมายว่า " หลีกเลี่ยงความผิดพลาด "

รากฐานภาษาญี่ปุ่น
POKA คือ ความผิดพลาดที่อาจเกิดจากเครื่องจักร กระบวนการ วัสดุ หรือคนเนื่องจากการไม่เอาใจใส่ / ไม่ได้ตั้งใจ / พลั้งเผลอ
YOKE คือ หลีกเลี่ยง / ป้องกัน / ทำไม่ให้เกิด

       เมื่อรวมศัพท์สองคำนี้แล้วจะได้ความหมายว่า การป้องกันความผิดพลาด  เมื่อมองไปถึงการผลิตสินค้าระดับอุตสาหกรรม การใช้คนในการทำงานก็มักจะเกิดข้อผิดพลาดได้มาก เนื่องจากคนมีอารมณ์ ความรู้สึก ที่มีความเป็นปัจเจกบุคคล ในระบบ POKA YOKE ได้ระบุความผิดพลาดของคน 10 รูปแบบ ได้แก่ การไม่รู้จริง ความเผอเรอ ความใจรอน การมองอยางผิวเผิน  การเหมอลอย สมองเฉื่อยชา ความเห็นแกตัว การใหอิสระมากเกินไป การคาดไมถึง และการตั้งใจทำ โดยความผิดพลาดนี้จะถูกถ่ายทอดไปสู่ผลิตภัณฑ์ ผลลัพธ์ก็คือ ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้คุณภาพซึ่งนับเป็นของเสีย และอาจจะหลุดรอดจากการควบคุมคุณภาพทางสถิติ(การสุ่มตรวจตัวอย่าง) หากของเสียนั้นเดินทางไปสู่ลูกค้าได้ก็จะกระทบต่อความน่าเชื่อถือ ภาพลักษณ์ขององค์กร และความพึงพอใจของลูกค้า  จึงต้องทำการค้นหาเลือกของเสียออกจากของดีและจัดการของเสียดังกล่าว ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น  และเพื่อป้องกันความผิดพลาดเหล่านี้ จึงได้นำ POKA YOKE มาติดตั้งในขบวนการผลิต
        นอกจากในระดับองค์กรหรืออุตสาหกรรมแล้ว เรายังสามารถเห็น  POKA YOKE  ได้ในชีวิตประจำวันอีกด้วย เช่น 

สีของสายไฟ เพื่อแบ่งแยกให้ชัดเจนว่าเส้นไหนเป็นเป็นเส้นไหน และต้องเสียบเข้าช่องไหน
(ที่มา : www.plugthai.com)
ซิมการ์ดโทรศัพท์ที่มีการบากมุมข้าง เพื่อป้องกันการใส่ซิมการ์ดผิดด้าน
(ที่มา : www.plugthai.com)
ปลั๊กไฟ 3 ขา ป้องกันการเสียบปลั๊กไฟผิดด้าน
(ที่มา : www.plugthai.com)

แหล่งข้อมูลอ้างอิง
1.) www.plugthai.com/article/74/poka-yoke-โพกะโยเก-quotเครื่องมือป้องกันคนโง่quot-fools-proof

2.) th.wikipedia.org/wiki/โพกะโยเก

3.) http://www.mim.psu.ac.th/index.php/2-uncategorised/91-poka-yoke

4.) http://www.thaidisplay.com/content-11.html

5.) http://smehappy.com/ใช้-poka-yoke-ป้องกันความผิดพลาดในงาน.html




ความคิดเห็น